มาทำความรู้จักประเภทของชาแต่ละชนิดกัน
มาทำความรู้จักประเภทของชาแต่ละชนิดกัน
ชาเป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมจากใบยอดอ่อน และก้านของต้นชา (Camellia sinensis) นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลากหลาย "ชา" ยังหมายรวมถึงเครื่องดื่มกลิ่นหอมที่ทำจากพืชตากแห้งชนิดต่าง ๆ นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อน ชาเป็นเครื่องดื่มที่มีผู้บริโภคมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากน้ำ ซึ่งชาที่วางจำหน่ายในปัจจุบันสามารถแบ่งตามกระบวนการผลิตได้ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
ชาขาว (White tea) ชาที่ผลิตจากยอดอ่อนของต้นชานำมาผ่านกระบวนการอบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อรักษากลิ่นและรสชาติเฉพาะ โดยไม่ผ่านการหมักใบชาเหมือนชาชนิดอื่นๆ ทำให้ชาขาวยังคงปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในใบชาได้มากกว่าชาชนิดอื่น ทำให้ยังคงคุณค่าทางโภชนา มีสารอนุมูลอิสระสูง รสชาติของชาขาวที่ยังคงความสดชื่นและนุ่มนวล ชาขาวจึงเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง
ชาแดง (Red tea) คือ ใบของชาเขียวที่ผ่านกระบวนการออกซิเดชั่นหรือการหมัก จนได้เป็นใบชาสีเข้ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีน้ำตาลแดง มีส่วนประกอบหนึ่งซึ่งช่วยป้องกันภาวะเครียดออกซิเดชั่น (Oxidative Stress) และยังมีสารฟลาโวนอยด์, โพลีฟีนอล ที่ช่วยยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันไขมันเกาะเซลล์เนื้อเยื่อ และกระตุ้นการทำงานของระบบเผาผลาญ
ชาอู่หลง (Oolong tea) เป็นชาประเภทกึ่งหมักหรือชาที่ผ่านการหมักเพียงบางส่วน ทำให้มีสี กลิ่นหอม และ รสชาติ อยู่ระหว่าง ชาเขียว และ ชาดำ โดยชาอู่หลงผ่านกระบวนการผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยการผึ่งแห้งใบชาด้วยแสงอาทิตย์เพื่อให้ใบชาคายน้ำ หลังจากนั้นทำไปผึ่งในที่ร่มภายใต้การควบคุมอุณหภูมิและความชื้น ชาอู่หลงมีรสชาตินุ่ม และหอมมาก มีคุณสมบัติเด่นๆคือการช่วยดักจับไขมัน และควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากชาอู่หลงมีสารชนิดพิเศษที่เรียกว่า OTTPS ซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นจากการหมักใบชามีส่วนช่วยลดการดูดซึมไขมันของร่างกาย และ เร่งการเผลาญในร่างกาย
ชาดำ (Black tea) เป็นชาที่ผ่านกระบวนการหมักอย่างสมบรูณ์ ทำให้ชาดำมีสีน้ำตาลแดง หากยิ่งบ่มนานยิ่งได้รสชาติมากขึ้น สรรพคุณชาดำโดดเด่นในเรื่องช่วยการย่อยอาหาร ลดครอเลสเตอรอล และลดการดูดซึมไขมันในลำไส้ ชาดำที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก อาทิเช่น ชาดำอัสสัม
ชาแต่ละชนิดจะมีลักษณะ สี กลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก ๆ 2 ปัจจัย ได้แก่ องค์ประกอบทางเคมีของใบชา และกระบวนการผลิตชา โดยองค์ประกอบทางเคมีของใบชาที่แตกต่างกันเป็นผลมาจากสายพันธุ์ชา สภาพพื้นที่ปลูก สภาพภูมิอากาศ ความอุดมสมบรูณ์ของ ดิน น้ำ และการดูแลรักษา ซึ่งองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันนี้จะส่งผลต่อปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต ทำให้ได้ชาที่มีกลิ่นและรสชาติที่แตกต่างกันไป ปัจจุบัน การดื่มชามีการรับรองจากนักวิจัยจากทั่วโลก ที่ยืนยันว่าการดื่มชานั้นช่วยให้สมองสดชื่น ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนั้น ชาบางชนิด เช่น ชาเขียว, ชาขาว, เจียวกู่หลาน, ชาอู่หลงเเละหญ้าหวาน ยังมีประโยชน์ที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ และลดคอเลสเตอรอลภายในร่างกาย ช่วยยับยั้งโรคมะเร็ง และโรคเบาหวานอีกด้วย