ชาต้นแรกจากในหลวงรัชกาลที่9
เมื่อปี 2513 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรที่บ้านปู่หมื่น จ.เชียงใหม่ พระราชทานชาต้นแรกให้กับชาวบ้านปลูก เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น ขณะนี้การปลูกชากลายเป็นอาชีพหลัก ทุกครอบครัวมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ไม่กลับไปปลูกฝิ่น
ชาต้นแรกที่ได้รับพระราชทานจากในหลวง
การเพาะปลูกชายุคแรกส่วนใหญ่เกิดขึ้นทางภาคเหนือของประเทศไทยซึ่งมีคนหลากหลายวัฒนธรรมมาอยู่รวมกันในพื้นที่ชื่อดังอย่างสามเหลี่ยมทองคำ ในขณะที่เพื่อนบ้านหลายประเทศใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนพื้นที่ปลูกฝิ่นและสิ่งผิดกฎหมาย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเข้าใจว่าวิธีการใช้กำลังจะไม่ประสบผลสำเร็จ พระองค์ทรงทราบว่าการปลูกและค้าฝิ่นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายแต่สร้างรายได้ให้กับชาวเขาหลายพันคนและทรงเข้าใจว่าจะต้องหาผลิตผลทางเลือกอื่นมาทดแทนเพื่อขจัดการปลูกและค้าฝิ่น ดังนั้นการเพาะปลูกจึงเป็นคำตอบของปัญหานี้ซึ่งคนในพื้นที่หลายคนมีความรู้และทักษะที่ต้องการอยู่แล้วจากเมื่อครั้งทำงานในไร่ชาในจีนและเวียดนาม
การเพาะปลูกชาขยายพื้นที่ออกไปอย่างต่อเนื่องและในช่วงปี 1960s มีชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งรกรากในเชียงใหม่และเชียงรายอีกระรอกใหญ่ ผู้อพยพเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอาศัยในประเทศไทยโดยพวกเขามีหน้าที่ช่วยสร้างอุตสาหกรรมผลิตชาให้แข็งแกร่ง จนถึง ณ ตอนนี้ชาไทยมีคุณภาพสูง สามารถส่งออกไปในตลาด ภูมิภาคเอชีย และ ยุโรป
ชาวเผ่าไทยลาฮู ดอยปู่หมื่น
ย้อนอดีตให้ฟังในวันนี้ (15 ต.ค.2559) ว่า สมัยนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่มีการปลูกฝิ่นและตัดไม้ แต่หลังจากพระองค์พระราชทานต้นชาต้นแรกให้ชาวบ้านพร้อมส่งเสริมให้ปลูกลิ้นจี่ แรกๆ ชาวบ้านไม่เชื่อ แต่พ่อของเขาได้ลงมือทำเป็นตัวอย่างจนประสบความสำเร็จ ทุกวันนี้ชาวบ้านต่างยอมรับและเริ่มปลูกชาไปทั่วดอยตามที่ในหลวงรับสั่ง ทำให้ขณะนี้ทุกครอบครัวมีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นไม่กลับไปปลูกฝิ่นอีก
สำหรับโครงการหลวง เป็นโครงการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ส่งเสริมการปลูกพืชเมืองหนาวแก่ชาวไทยภูเขา ทดแทนการปลูกฝิ่น ก่อตั้งเมื่อปี 2512 โดยปัจจุบันโครงการหลวง ดำเนินงานใน 5 จังหวัดภาคเหนือ คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา และ แม่ฮ่องสอน มีสถานีวิจัยหลัก 4 สถานี และสถานีส่งเสริมปลูกพืชทดแทนฝิ่น เรียกว่า ศูนย์พัฒนาโครงการ อีก 21 ศูนย์ และหมู่บ้านพัฒนาอีก 6 หมู่บ้าน รวมหมู่บ้านในเขตปฏิบัติการทั้งสิ้น 267 หมู่บ้าน
ผลผลิตจากโครงการหลวงปัจจุบัน ประกอบด้วย ผักปลอดภัยสารพิษ สมุนไพร ถั่วและธัญพืช ผลไม้ เห็ด ดอกไม้เมืองหนาว ผลิตผลปศุสัตว์ ผลิตผลประมง ผลิตผลป่าไม้ ดอกไม้แห้ง ผลิตภัณฑ์จากแฝก ไม้กระถาง และผลิตภัณฑ์แปรรูปในชื่อการค้า โครงการหลวง และดอยคำ